มินนี่เธอมันร้าย!!! กฎหมายคอมพิวเตอร์ต้องสั่นสะเทือน


12/Nov/2024
Avery IT Tech
Data Security and Privacy


ในที่นี้ไม่ได้พาดพิงใครแต่ขอยืมชื่อของข่าวในตอนนี้มาหยิบยกพูดถึงซักหน่อย ในเรื่องของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ในรูปแบบต่าง ๆ ต้องบอกว่านี่ถือเป็นครั้งหนึ่งเลยที่มีการหยิบยกประเด็นด้านกฎหมายเรื่องของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล PDPA

เพราะเนื้อบทกฎหมายมีบอกไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าการที่ข้อมูลรั่วไหล จากช่องทางใดก็ตามโดยเจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาตนั้นก็ถือว่าเป็นการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทั้งสิ้น ในกรณีข่าวใหญ่ที่เกิดขึ้นมีการยึดโทรศัพท์ ของผู้ที่ถูกทางเจ้าหน้าที่ตำรวจกล่าวอ้างว่ามีเหตุสมรู้ร่วมคิดด้านเว็บไซต์พนันออนไลน์ จึงถูกยึดโทรศัพท์ เพื่อตรวจสอบ พอมาถึงตรงนี้ ต้องแยกเป็นสองประเด็น

ประเด็นแรกคือการให้ความยินยอมในการยึดโทรศัพท์ไป แต่ไม่ได้บอกว่าสามารถเผยแพร่ข้อมูลในโทรศัพท์ได้แต่ในทางกลับกันหากว่ามีความเป็นต่อรูปคดีก็สามารถยึดได้แต่ก็ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าข้อมูลคืออะไร

ประเด็นที่สองที่จะพูดต่อคือภาพที่หลุดออกมา ถ้ามาจากโทรศัพท์เครื่องนั้นจริงๆ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการดึงข้อมูล หรือ นำข้อมูลเพื่อมาพิสูจน์หลักฐานนั้น ทำเกินกว่าเหตุในการเผยแพร่ ข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีภาพของข้อมูล เนื้อหาต่างๆที่เป็นส่วนตัว สู่สารธารณะ ไม่ว่าจะรูปแบบใด และ สร้างความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูล อันนี้ถือว่าผิดไหม หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถทำได้โดยที่รูปคดียังไม่สิ้นสุด

ทั้งสองประเด็นผู้เขียนมองว่า ไม่ว่าจะกรณีที่ 1 หรือ 2 ถ้าเราตกเป็นผู้ต้องสงสัย แน่นอนเราก็ต้องให้ความยินยอมที่จะให้ตรวจสอบโทรศัพท์หรือการร้องขอจากเจ้าหน้าที่รัฐได้หากมีหมายค้น หมายศาลเรื่องการยึดหลักฐานมาด้วย ส่วนกรณีข้อมูลหลุด ภาพหลุดนั้น เป็นกรณีที่ฟ้องร้องได้ตามกฎกมายหากสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลนั้นถูกดึงออกมาและมีการเผยแพร่จริงๆ

นี่ไงครับละครฉากใหญ่ที่จะเป็นบรรทัดฐานต่อไปใน อนาคตเรื่องของการ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทางข้อมูลและเจ้าของข้อมูลเกิดความเสียหาย หรือ เป็นอีกกรณีคือการมีภาพ หรือถ่ายติดภาพของบุคคลโดยมิได้ตั้งใจ แต่นำไปพูดในทางที่ไม่ดี สร้างความเสียหายให้บุคคลนั้น ก็สามารถขึ้นโรงขึ้นศาลได้นะ เพราะหากว่าเจ้าของข้อมูล คนในภาพ หรือ สถานที่ในภาพที่โยงมาถึงตัวบุคคลได้ เกิดความเสียหายเดขึ้นได้นั้น ระวังจะขึ้นศาลโดยไม่รู้ตัว

นี่ยังไม่นับกรณีที่ Comment อะไรไม่คิดในโลกอินเตอร์เน็ตนะครับ ต่อให้เค้าดี หรือ ไม่ดี แต่เราด่าด้วยข้อมูลที่เป็นเท็จ พิสูจน์ไม่ได้ ก็ถือเป็นการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จได้นะครับ

มาตรา 14 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ไม่เกิน 5 ปี ไม่เกิน 100,000 บาท

มาตรา 14(2) นั้นจะต้องเป็นกรณีที่ข้อความหรือข้อมูลนั้นเป็น ‘ความเท็จ’ และข้อมูลนั้นจะต้องก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในทางสาธารณะ เศรษฐกิจ หรือจะต้องก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน หากการแสดงความคิดเห็นหรือนำเสนอข้อมูลไม่ได้ก่อให้เกิดผลที่ว่า แม้เป็นความเท็จก็ไม่อาจเป็นความผิดได้ เนื่องจากขาดองค์ประกอบความผิด

สามารถติดตามข่าวสารหรือสาระความรู้แวดวง IT ได้ที่ Avery it tech “เพราะเรื่อง IT อยู่รอบ ๆ ตัวคุณ”