เลือก Solution Incident Response อย่างไรให้เหมาะกับองค์กร
ปัจจุบันการเสริมมาตรการการปกป้องระบบโดยเพิ่มมาตรการการเฝ้าระวังด้วยสินค้ากลุ่ม Incident Response อย่าง EDR , XDR , SIEM , SOAR เข้ามาช่วยให้ระบบมีขีดความสามารถในการตรวจสอบและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้ง่ายมากขึ้น โดยวันนี้ทาง Avery IT Tech จะมาแยกความสามารถของแต่ละกลุ่มของสินค้าแล้วความเหมาะสมว่าใคร องค์กรไหนเหมาะสมกับสินค้าอะไรก่อนและหลัง
ข้อดี
ข้อเสีย
องค์กรที่เหมาะคือองค์กรที่มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยครบแล้วอย่าง Firewall , Endpoint , Proxy เป็นต้นที่จะสามารถส่งข้อมูลมาบริหารจัดการจากส่วนกลางได้ และมีคนที่ถูกมอบหมายให้ดูแลระบบนี้โดยตรงพร้อมที่จะทำความเข้าใจและดูแลกำหนดมาตการด้านความปลอดภัย 3-5 คนเป็นอย่างน้อยในการช่วยดูแลและเฝ้าระวัง และยังเหมาะกับองค์กรที่กำลังมองหาอุปกรณ์ที่ต้องเก็บข้อมูลเครือข่ายที่มากกว่า 90 วันอีกด้วย
สินค้ากลุ่มนี้ EDR ต่อยอดการพัฒนามาจาก EPP หรือ Endpoint Protection นั้นเอง แต่เพิ่มขีดความสามารถด้านการทำ Detection & Response เข้าไปทำให้สามารถปกป้องและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ในเวลาเดียวกัน หลักการทำงานของระบบสินค้ากลุ่มนี้นั้นต้องติดตั้ง Agent เพื่อทำการตรวจสอบ File , Process , Registry หรือพฤติกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นบนเครื่องที่ทำการติดตั้ง Agent ลงไปนั้นเอง
ข้อดี
ข้อเสีย
องค์กรที่เหมาะคือองค์กรที่ ต้องการเปลี่ยนระบบ Antivirus แบบเดิมเพื่อต่อยอดการเฝ้าระวังทั้งการปกป้องและตรวจสอบเครื่องที่ติดตั้ง Agent อยู่ตลอดเวลา และเป็นขั้นเริ่มต้นขององค์กรที่มีผู้ใช้งานไม่มากคุ้มค่าต่อการลงทุนมากกว่าการลงทุนใน SIEM หรือ SOAR ตั้งแต่ต้น ดังนั้นองค์กร SME , Start-Up ก็เหมาะสมเป็นอย่างมาก แต่สำหรับองค์กรขนาดกลางและใหญ่นั้น ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมในการมีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่มากนั้นการใช้เพียง Antivirus ที่มีประสิทธิภาพ และต่อยอดด้วย SIEM หรือ SOAR อาจจะเหมาะสมมากกว่า
แล้ว XDR คืออะไร คือการต่อยอดให้ระบบ EDR สามารถทำงานคล้ายกับ SIEM ได้มากขึ้น โดยเชื่อมต่อวิเคราะห์ข้อมูลจาก Network ได้ด้วยทำให้การรวบรวมข้อมูลจากหลายระบบ แต่ยังไม่สามารถมาทดแทน SIEM ได้เนื่องจากข้อมูลที่รับมาทำการเก็บนั้นสนใจเฉพาะที่เป็นการเก็บเพื่อปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์เท่านั้น แต่ไม่ได้รวมถึงการเก็บการใช้งานทั่วไปที่เป็นความสามารถหลักของ SIEM นั้นเอง ถ้าระบบ XDR มีการพัฒนามากว่านี้ในการรองรับการเชื่อมโยงหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ความปลอดภัยได้มากขึ้น ถือ ว่าจะเป็น Tool อีก 1 ตัวที่จำเป็นต้องมีในการเสริมทัพด้าน Incident Response ที่องค์กรทุกองค์กรต้องมีเลยก็ว่าได้เพราะ Endpoint , Network , Cloud จำเป็นต้องเฝ้าระวังพร้อมกันทั้งหมดนั้นเอง
สินค้ากลุ่มนี้ถือเป็น The Best ด้านการทำ Automate & Response ต้องบอกแบบนี้ว่าการบริหารจัดการหลังจากที่พบภัยคุกคามเกิดขึ้นในระบบนั้นถ้าองค์กรหรือหน่วยงานมีบุคลากรที่มีความเชียวชาญอยู่แล้วก็หายห่วง แต่ถ้าองค์กรไหนมีบุคลากรน้อย และ ขาดความเชี่ยวชาญแน่นอนต้องรีบหา Tool อย่าง SOAR มาเพื่อจัดการกระบวนการตอบสนองต่อภัยคุกคามอย่างมีขั้นตอนและแบบแผนอย่างชัดเจน เพราะการนำ Tool อย่าง SOAR เข้ามานั้นการทำงานข้อง SOAR คือเข้ามาจัดการลำดับขั้นตอนของอุปกรณ์ความปลอดภัยในองค์กรและประสานงานเข้ากับบุคคลอย่างอัตโนมัติ แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ดูแลหรือผู้จัดการขั้นตอนนั้นต้องมีการเขียนสิ่งที่เรียกว่า Playbook หรือ Runbook ของอุปกรณ์ในเครือข่ายที่มีให้สอดคล้องกับภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นก่อน และระบบของ SOAR จะจัดการตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ให้แล้วตามรูปแบบทันที
ข้อดี
ข้อเสีย
องค์กรที่เหมาะคือองค์กรที่มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยครบแล้วอย่าง Firewall , Endpoint , Proxy และ SIEM เป็นต้น เพื่อที่จะสามารถส่งข้อมูลมาบริหารจัดการความเสี่ยงและกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยให้สอดคล้องกับ Playbook ที่มี ดังนั้นต้องเป็นองค์กรที่มีศูนย์ SOC , CSIRT เป็นต้น หรือองค์กรระดับมหาชน ที่มีเครือข่ายสาขามากมายและต้องการเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้มากขึ้น
สรูป 3 กลุ่มสินค้ามีจุดแตกต่างที่บางทีก็ ต่างกันแค่นิดเดียวเองจริงๆ แต่พออ่านดูรายละเอียดการทำงานของเค้าแล้ว มันมีจุดที่จำเป็นต้องใช้ ของแต่ละ Tool อยู่เช่น Siem ก็ใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากส่วนกลาง ทั้งภัยคุกคามและเก็บข้อมูลตามพรบ , EDR ก็เฝ้าระวังเครื่องในกรณีเกิดเหตุการณ์ภัยคุกคามที่ระบบของ Endpoint ที่ติดตั้งสามารถตอบสนองได้ทันที เหมือนเรานำคนติดเชื่อโควิดไปเข้าห้องความดันลบนั้นเอง , SOAR ระบบบริหารจัดการความเสี่ยงโดยรวมแบบอัตโนมัติโดยมีการกำหนดขั้นตอนเงื่อนไขไว้เป็นตัวอย่างสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้จาก Playbook ที่มี