Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะ คืออะไร ?
จากบทความด้าน AI ที่ได้ทาง AveryITTech ได้เขียนไปนั้น เป็นส่วนหนึ่งและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้เกิดระบบ Smart City เลยพร้อมทั้งระบบสื่อสารที่ทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกันอย่าง 5G หรือ 6G ในอนาคต มาขยายความเรื่องของ Smart City กันก่อน แน่นอนเมืองในปัจจุบันที่เราอยู่ถ้าใครสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและดึงประโยชน์ของอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้เราถือว่าเป็น Smart People ทั้งเรื่องของการใช้ Internet ให้ก่อเกิดประโยชน์ , การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ IOT หรือ Smart Thing ทั้งหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะการนำเหล่า Sensor ทั้งหลายมาประยุกต์และนำข้อมูลเหล่านั้นมาประมวลผลเองด้วยระบบอัตโนมัติอย่างปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ยกตัวอย่างถ้าอากาศร้อนให้อุปกรณ์ทำความเย็นทำงานทันที หรือถ้าร้อนจัดให้พ่นน้ำบนหลังคาด้วยอันนี้แล้วแต่การประยุกต์ใช้ แต่นั้นจะเป็นความสามารถของแต่ละบุคคลเท่านั้น
แต่ถ้ามองกว้างออกมาเหล่า Smart People ทั้งหลายถ้ารวมตัวกันในเมืองใหญ่ก็จะสามารถทำให้สังคมโดยรวมสามารถเป็น Smart City ได้ แต่ โดยความหมายจริงๆของ Smart City ต่างออกไป เพราะไม่เพียงแค่ต้องมีบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีเป็นแล้ว แต่ สภาพแวดล้อมโดยรวมต้องสามารถรองรับการใช้งานเทคโนโลยีได้อีกด้วย พร้อมทั้งต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้าน ทั้งการเชื่อมต่อ ความปลอดภัย ไปจนถึงค่าใช้จ่ายในระบบ Smart City
ในบทความนี่มาลองทำความเข้าใจกันก่อนถึง คำว่า เมืองอัจฉริยะ นี้คืออะไร แล้วค่อยๆ ขยายความต่อๆ ไป ในบทความต่อไป สำหรับ Smart City หรือ เมืองอัจฉริยะนั้น ตีความง่ายๆ คือเมืองที่ได้ถูกออกแบบและพัฒนามาให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนเมืองที่ปัจจุบันเทคโนโลยีถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และคือเมืองที่ต้องการความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตอีกด้วย
โดยการนำเทคโนโลยีต่างมาผสมผสานกับโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบสารธารณะ เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นั้นคือคำจำกัดความของเมืองอัจฉริยะ
ดังนั้นถ้าเรามองว่าการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ให้เมืองสามารถเป็นเมืองอัจฉริยะได้จริง ๆ ต้องวางโครงสร้างใหม่ทั้งหมด หรือ พูดกันตามตรงเมืองอัจฉริยะในอุดมคตินั้น ต้องรื้อโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเดิมทิ้งและลงหลักปักฐานใหม่ทั้งหมด เพราะอะไรมาดู 5เหตุผลที่จะบอกต่อไปนี้ก่อนเลยว่าถ้าไม่รื้อแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
1. โครงสร้างของเมืองอัจฉริยะนั้น เรื่องพลังงานต้องใช้มากกว่าเมืองปรกติ และควรจะเป็นพลังงานแบบสามารถปรับเปลี่ยนและรองรับกันและกันได้ เช่น
a. พลังงานแสงอาทิตย์ ในตอนกลางวัน และ พลังงานน้ำหรือลมในเวลากลางคืน และแหล่งเก็บกระแสไฟ ที่สามารถจ่ายไปสู่ระบบที่ต้องการไฟตลอดเวลา และ ที่สำคัญ “ต้องห้ามดับ” ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญสำหรับระบบไฟฟ้า
2. ระบบที่สองการเชื่อมต่อสัญญาณของ 5G 6G ในการเชื่อมต่อทั้งเมืองให้สามารถเข้าถึงระบบบริการต่างๆ ไปจนถึงอยู่จัดไหนของเมืองก็สามารถเชื่อมต่อหรือทำงานได้ทั้งสิ้น ด้วยความเร็วของ 4G หรือ แม้กระทั้ง 5G อาจจะยังไม่เพียงพอต่อระบบการสื่อสารใน Smart City แต่ก็ต้องรอการพัฒนาไปถึง 6G ที่สามารถเชื่อมต่อส่งข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ คมชัด และ เชื่อมต่อได้ทุกจุดอย่างไร้รอยต่อ
3. ด้านโครงสร้างของที่อยู่อาศัยต้องเป็นการออกแบบเพื่อรองรับการอยู่อาศัยที่เป็น Smart Home ด้วยการออกแบบการอยู่อาศัยที่คำนึงถึงระบบจัดการด้านสิ่งแวดล้อม , น้ำ , ไฟฟ้า , ไฟส่องกว่าง , การประชาสัมพันธ์ หรือกระทั่ง ระบบกล้องวงจรปิด เพื่อเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยปัจจัยด้าน Smart Home นั้นถือเป็นเรื่องใหญ่ต้องแบ่งเป็นการบริหารจัดการจากภายในบ้านสู่ภายนอกบ้าน
4. ระบบขนส่งมวลชนพื้นฐาน การแก้ปัญหาโครงสร้างเมืองในรูปแบบเดิมคือ ลดการใช้รถยนต์ เปลี่ยนมาใช้จักรยาน หรือ ระบบขนส่งสารธารณะที่ตรงต่อเวลา และ แก้ปัญหาโครงสร้างเมืองแบบเดิมได้อย่างยั่งยืน ไปจนถึง การใช้งานรถเล็กที่ลดพื้นที่การแออัดบนท้องถนนไปจนถึงการนำรถที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามาใช้งาน อย่างในประเทศไทยเองก็เริ่มมีการพูดถึงระบบขนส่งใน Smart city อย่างจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
5. ระบบควบคุมจากส่วนกลางในการกำหนดโครงสร้างของทั้งระบบไม่ให้ติดขัดด้วยการประยุกต์ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้าไปเพื่อให้การบริหารจัดการระบบเป็นไปอย่างปลอดภัย ไปจนถึงการประชาสัมพันธ์ที่ต้องออกแบบมาให้สามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อได้จากระบบมือถือ หรือ ป้าย Smart Board เป็นต้น ดังนั้นการออกแบบระบบเหล่านี้ขึ้นมาต้องคำนึงถึงปัจจัยอีก 3 เรื่อง
อาจจะมีปัจจัยพื้นฐานที่ต้องแก้ไขอีกมากมายเพื่อให้เป็นระบบ Smart City แต่ถ้า 5 เหตุผลหลักด้านบนยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลงและสร้างขึ้นมาก็มิอาจเรียกได้ว่า Smart City ได้อย่างเต็มระบบเป็นเพียงการใช้งานเทคโนโลยีในเมืองโครงสร้างแบบเดิม ซึ่ง อาจจะเรียกว่า Modernization City เท่านั้น ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจจะต้องดูเพิ่มคือ การจ่ายเงิน การเชื่อมต่อระบบ Payment ต่างๆให้เชื่อถือได้และสามารถใช้ได้กับทุกๆระบบของเมืองอัจฉริยะนี้ ไปจนถึงด้านความปลอดภัยของระบบ ในบทความหน้าเราจะมาพูดถึง เจาะลึกข้อดีข้อมเสียของ Smart City กันดูก่อนว่าการมีอยู่จะได้ประโยชน์อะไร และ ข้อเสียของระบบโครงสร้าง Smart City คืออะไรกัน
เพื่อให้เราเตรียมความพร้อมเพราะแน่นนอซักวันหนึ่ง โลกของเรา เมืองของเราจะก้าวกระโดดเข้าสู่เมืองอัจฉริยะนี้ไม่ช้าก็เร็ว และ ทาง AveryITTech จะนำข้อมูลการพัฒนาใช้งาน Smart City ในประเทศไทยมาลองอธิบายความคืบหน้าให้ท่านผู้อ่านทุกคนเข้าใจมันเพิ่มขึ้นด้วย